การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการ

กำหนดรับสมัครแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการ

  1. มหาวิทยาลัยในเครือข่าย และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ สามารส่งทีมเข้าแข่งขันตอบปัญหทางวิชาการได้  2 ทีม/ทีมละ 3 คน/สถาบัน 
  2. ส่งชื่อนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2567    
  3. การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการ รับเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาตรี
  4. สาขาที่เปิดรับการแข่งขันตอบปัญหา ประกอบด้วย รัฐศาสตร์, รัฐประศาสนศาสตร์, การเมืองการปกครอง และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

กำหนดการแข่งขัน

เวลา 12.15 – 12.45 น.

ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมแข่งขัน

เวลา 13.00 – 13.45 น.

ดำเนินการแข่งขันตอบปัญหารอบที่ 1

เวลา 14.00 – 14.15 น.

ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบที่ 2

เวลา 14.30 – 15.00 น.

ดำเนินการแข่งขันตอบปัญหารอบที่ 2

เวลา 15.15 – 15.30 น.

ประกาศผลทีมผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ

เวลา 15.45 – 16.30 น.

แข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

เวลา 16.30 – 17.00 น.

ประกาศผล มอบโล่รางวัล และเกียรติบัตร

การแข่งขันตอบปัญหาแบ่งออกเป็น 3 รอบ คือ

รอบที่ 1 รอบการแข่งขันพร้อมทุกทีม เพื่อคัดให้เหลือ 10 ทีม ใช้คำถามแบบปรนัย 50 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวม 50 คะแนน เวลาในการแข่งขัน 45 นาที
รอบที่ 2 รอบการแข่งขัน 10 ทีม เพื่อคัดให้เหลือ 5 ทีม ใช้คำถามแบบปรนัย 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน และคำถามอัตนัย 1 ข้อ ข้อละ 10 คะแนน รวม 20 คะแนน
ใช้เวลาในการตอบคำถาม 30 นาที

  • รอบชิงชนะเลิศ 5 ทีมสุดท้าย ใช้คำถามอัตนัยแบบตอบคำถามสดต่อหน้าคณะกรรมการ 1 ข้อ
    รอบที่ 1 ของการแข่งขัน กรณีที่ได้คะแนนเท่ากันและมีทีมที่ผ่านเข้ารอบที่ 2 เกินกว่า 10 ทีม
    ให้คณะกรรมการใช้คำถามปรนัยในการตัดสินจนกว่าจะครบจำนวน 10 ทีมเพื่อเข้าสู่รอบที่ 2
  • เช่นเดียวกันกับการแข่งขันรอบที่ 1 ในการแข่งขันรอบที่ 2 กรณีที่ได้คะแนนเท่ากันและมีทีม
    ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศเกินกว่า 5 ทีมให้คณะกรรมการใช้คำถามปรนัยในการตัดสินจนกว่า
    จะครบจำนวน 5 เพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
  • รอบชิงชนะเลิศ ทีมที่เข้ารอบจะได้รับคำถามเดียวกัน กรรมการจะอ่านคำถาม 2 ครั้ง
    โดยจะเริ่มจับเวลาเมื่ออ่านคำถามจบครั้งที่สอง เวลาในการเตรียมตัวตอบคำถาม 1 นาที
    และใช้เวลาในการตอบคำถามไม่เกิน 3 นาที ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัลชนะเลิศ
    ส่วนทีมที่ได้คะแนนรองลงมาจะได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รองชนะเลิศอันดับ 2
    และรางวัลชมเชย 2 รางวัล ตามลำดับคะแนน
  • การตอบคำถามทั้งปรนัยในรอบที่ 1 และ 2 และอัตนัยในรอบที่ 2 ให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
    เขียนคำตอบที่ชัดเจนในกระดาษคำตอบที่ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดไว้ให้เท่านั้น
  • มิให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันนำหรือพกพาอุปกรณ์การสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องจัดการแข่งขัน
  • การตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด

กติกาการแข่งขันการตอบปัญหา

          สถาบันอุดมศึกษามีสิทธิส่งผู้เข้าแข่งขันได้สถาบันละ 2 ทีม ทีมละ 3 คน โดยต้องเป็นนิสิตหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีเท่านั้น ทั้งนี้ สามารถส่งรายชื่อในแบบฟอร์มตอบรับจากระบบออนไลน์ พร้อมชำระค่าสมัคร ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2567

          ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันตอบปัญหาจะต้องลงทะเบียนรายงานตัวที่ห้องแข่งขันตอบปัญหาไม่น้อยกว่า 30 นาทีก่อนการแข่งขัน หากลงทะเบียนล่าช้ากว่ากำหนด จะถูกพิจารณาตัดสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน

คำถามที่ใช้ในการจัดการแข่งขันตอบปัญหาครอบคลุมสาขาวิชาดังต่อไปนี้

  1. การเมืองการปกครอง
  2. รัฐประศาสนศาสตร์หรือบริหารรัฐกิจ
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและอาเซียน
  4. กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และกฎหมายในชีวิตประจำวัน
  5. ความรู้ทั่วไปด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมร่วมสมัย

รางวัลการแข่งขัน

  1. รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา 6,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
  2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทุนการศึกษา 3,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
  3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทุนการศึกษา 2,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
  4. รางวัลชมเชย ทุนการศึกษา 1,500 บาท จำนวน 2 รางวัล พร้อมเกียรติบัตร
Scroll to Top